วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา : ทฤษฏีการเรียนรู้พฤติกรรม


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม 

(BEHAVIORAL THEORIES)

                    ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)

พฤติกรรมนิยมทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theories)
                ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus-คือสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรม) และการตอบสนอง (Response - ตัวพฤติกรรม) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือ เกิดการเรียนรู้นั่นเอง ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น ในการเรียนรู้ความจริงกลุ่มนี้ก็สนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดและปฏิกิริยาซึ่งเกิดขึ้นภายในเหมือนกัน แต่ว่ายากแก่การสังเกตและรู้สึกว่ามิใช่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงสนใจเฉพาะสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น การที่กลุ่มนี้ให้ความสนใจกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในและปฏิกิริยาของผู้เรียนน้อยเพราะศึกษาทดลองโดยสัตว์ชั้นต่ำ เช่น หนู เป็นต้น ผู้นำที่สำคัญของกลุ่มนี้ เช่น พาพลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดค์ (Edward Thondike) และ สกินเนอร์ (B.F Skinner) พื้นฐานความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมคือสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม
แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
          1. พฤติกรรมทุกอย่างที่เกิดโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้
          2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนรู้ที่เป็นอิสระหลายอย่าง
          3. แรงเสริม(Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมแบ่งพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 กลุ่ม
          1. Respondent Behavior หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ อธิบายได้โดย ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
          2. Operant Behavior เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา (Emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม อธิบายได้โดยทฤษฎี Operant Conditioning Theory

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิ (Classical Conditioning Theory)
          ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของ อีวานเพโทรวิช พาพลอฟ (Ivan Petrovich Pavlop ) นักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เชื่อว่า  พฤติกรรมที่จะเกิดการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกได้มักเป็นพฤติกรรม หรือการตอบสนองที่เกิดจากปฏิกริยาสะท้อน อันมีพื้นฐานมาจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การที่เห็นมะม่วงแล้วน้ำลายไหล การทำงานของต่อมต่าง ๆ ในร่างกาย, การทำงานของระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ พฤติกรรมการตอบสนองในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกเป็นพฤติกรรม
ที่เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น พฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหล่านี้ เรียกว่า พฤติกรรมตอบสนอง หรือ พฤติกรรมที่เป็นไปโดยไม่ตั้งใจ 

แนวคิดของพาฟลอฟ(Pavlov)
           ในการวิจัยเกี่ยวกับการย่อยอาหารของสุนัข พาฟลอฟสังเกตสุนัขมีน้ำลายไหลออกมาเมื่อเห็นผู้ทดลองนำอาหารมาให้ พาฟลอฟสนใจในพฤติกรรมน้ำลายไหลของสุนัขก่อนได้รับอาหารมากจึงได้คิดทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างมีระเบียบ การทดลองสามารถแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยการทดลองทำให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง พาฟลอฟได้พบหลักฐานการเรียนรู้ ที่เรียกว่า Classical Conditioning

                            ก.เมื่อเห็นอาหารสุนัขน้ำลายไหล 
                            ข.เมื่อสั่นกระดิ่งและให้อาหาร สุนัขน้ำลายไหล
                            ง.เมื่อสั้นกระดิ่งสุนัขน้ำลายไหล
แนวคิดของวัตสัน(Watson)
              พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมทำให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กักับสิ่งเร้าธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่วมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ เมื่อสามารถทำให้พฤติกรรมใดๆนั้นเกิดขึ้นได้ก็สามรถลดพฤติกรรมนั้นให้หายได้



               วัตสันได้ให้ข้อสังเกตว่าโดยธรรมชาติของเด็กเล็กๆ จะกลัวเสียงที่ดังขึ้นอย่างกะทันหัน แต่มักจะไม่กล้วสัตว์เลี้ยงประเภทหนูหรือกระต่าย ในการดำเนินการทดลองโดยปล่อยให้อัลเบิร์ตอยู่กับหนูขาว ขณะที่อัลเบิร์ตเอื้อมมือไปจะจับหนูขาวก็ใช้ฆ้อนเคาะแผ่นเหล็กให้เสียงดังขึ้น ทำให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข(UCS) ทำเกิดให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไข (UCR)คือความกลัว ต่อมาวัตสันได้แก้ความกลัวของหนูอัลเบิร์ต โดยให้แม่ของหนูน้อยอุ้มในขณะที่นักจิตวิทยามาให้อัลเบิร์ตจับตอนแรกจะร้องไห้แต่พอแม่ปลอบว่าไม่น่ากลัว พร้อมกับเอามืออัลเบิร์ตไปจับหนูขาวแล้วลูบตัวจนกระทั่งหนูน้อยหายกลัวหนูขาว

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ(Operant Conditioning Theory)

แนวคิดของธอร์นไดค์ (Thorndike)
      ธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่ง โดยเขาได้ชื่อว่าเป็น นักทฤษฎีการเรียนรู้คนแรกของอเมริกา และ บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา” ธอร์นไดค์ ได้ให้กำเนิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (S) กับการตอบสนอง (R) ทั้งนี้เพราะ เขาถือว่าการเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหา เพราะเมื่อผู้เรียนพบปัญหา เขาจะมีปฏิกิริยาแบบเดาสุ่มซึ่งเป็นการลองผิดลองถูก Trial and Error นั่นคือ ผู้เรียนจะลองทำหลายวิธี จนกระทั่งประสบผลสำเร็จในที่สุด โดยที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งเร้าหรือปัญหาด้วยการตอบสนองที่เหมาะสมได้
                      ทฤษฎีของธอร์นไดค์ได้ชื่อว่า ความสัมพันธ์เชื่อมโยง” (connectionism) เพราะเขามีความเห็นว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเนื่องจากมีการเชื่อมโยงระหว่าง S-R ธอร์นไดค์เน้นว่าสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ การเสริมแรง (Reinforcement) ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้เดการเชื่อมโยงระหว่าง S-R มากขึ้น หมายความว่า สิ่งเร้าใดทำให้เกิดการตอบสนอง และการตอบสนองนั้นได้รับการเสริมแรง จะก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่าง S-R นั้นมากขึ้น
แนวคิดของธอร์นไดค์(Thorndike) 
                  เป็นบิดาแห่งจิตวิทยา เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เรียกว่า S-R Model อีกทั้งให้ความสำคัญต่อการให้การเสริมแรง และการตอบสนองเพิ่มขึ้นโดยเน้นการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ



                  ธอร์นไดค์จับแมวที่กำลังหิวใส่กรงแล้วให้แมวลองผิดลองถูกหาทางออกมาเพื่อจะมากินอาหารที่วางอยู่ข้างนอก และแมวบังเอิญไปจับถูกสลักและสามารถเปิดประตูออกมากินอาหารได้ ธอร์นไดค์เรียกการเรียนรู้ของแมวว่าเป็นการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก(Trial and Error) ไม่ใช่การใช้สิปัญญาในการแก้ปัญหา
แนวคิดของสกินเนอร์(Skinner) 
                  การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำใดที่มีการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่งนการกระทำใดที่ไม่มีการเสริมแรงย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้ความถี่ของการกระทำนั้น ค่อยๆหายไปและหายไปในที่สุด

                     สกินเนอร์ได้ทดลองนำหนูหิวเข้าไปอยู่ในกล่องทดลองซึ่งภายในจะมีคานที่หนูกดแล้วจะมีอาหารให้กินพร้อมกับเงื่อนไขที่มีดังแกรก ผลการทดลองปรากฎว่า เมื่อหนูวิ่งไปวิ่งมาแล้วบังเอิญไปกดถูกคานเข้าจะมีเสียงดังแกรกและหลังจากนั้นจะมีอาหารหล่นลงมา หนูจะรีบหยิบกินทันที จากนั้นหนูก็จะวิ่งเฝ้ามากดคานเพื่อจะคอยรับอาหาร แต่ถ้ากดคานแล้วไม่มีอาหารหล่นมาลงมาหนูจะกดแค่ 2-3 ครั้งเท่านั้น แล้วก็จะเลิกกดไปทันที

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

คำถามท้ายบทที่ 1

1. MOOCs (Massive Open Online Courses) ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด และเพราะอะไร
ตอบ MOOCs (Massive Open Online Courses) ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภท Technology เพราะ ปัจจุบันสามารถเข้าถึงหลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ ทางออนไลน์และอุปกรณ์โมบายต่างๆ ได้โดยสะดวก เทคโนโลยีไอซีทีก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้งก็ทำให้เทคโนโลยีด้านอีเลิร์นนิงมีการพัฒนารูปแบบและช่องทางใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว และเทคโนโลยีด้านการศึกษาที่กำลังถูกกล่าวขวัญถึงในปัจจุบันกันอย่างมากก็คือ “MOOC”
2. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภทและแต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไร
ตอบ มี 5 ประเภท
2.1 นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
ข้อดี คือ เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น
2.2 นวัตกรรมการเรียนการสอน
ข้อดี คือ เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถ ตอบสนองการเรียนรายบุคคล
2.3 นวัตกรรมสื่อการสอน
ข้อดี คือ เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมิเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียนตอบสนองต่อแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ร่วมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2.4 นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล
ข้อดี คือ เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำได้อย่างรวดเร็ว
2.5 นวัตกรรมการบริหารจัดการ
ข้อดี คือ เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
3. นวัตกรรมที่จะนำมาใช้จัดการในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ ซีเอไอ (CAI)
ตอบ เพราะ จะเห็นว่าสื่อการเรียนการสอน นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ได้หรือผู้เรียนเป็นสำคัญ สื่อการเรียนการสอนประเภท “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” นับว่าเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งนี้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณสมบัติในการนำเสนอแบบหลายสื่อ (Multimedia) ด้วยคอมพิวเตอร์ และการเรียนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเป็นเพิ่มความน่าสนใจให้แก่ผู้เรียน
ซึ่วประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีดังนี้
1. ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้ เพื่อปรับปรุงการเรียนของตน
2. ผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ที่สะดวก
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับการเรียน
4. ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครุ จึงต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
ตอบ เพราะปัจจุบัน เทคโนโลยีช่วยยกระดับการสอนของครู ซึ่งเป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน การใช้เทคโนโลยีจึงต้องควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลาและการใช้เทคโนโลยียังมีความสำคัญในการจัดระบบการศึกษา ซึ่งตอบสนองผู้เรียนได้เป็นจำนวนมาก เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา นอกจากนั้นเทคโนโลยียังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการสอน ให้มีความสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น ดังนั้น นักศึกษาวิชาชีพครู จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และสนใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
5.นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันพร้อมอธิบายข้อดีและข้อจำกัด ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้นๆ มา 1 ประเภท
ตอบ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ นวัตกรรมสื่อการสอน ซึ่งนวัตกรรมสื่อการสอน
ข้อดี
1. เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกให้ครูสอนเนื้อหาให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น
2. เป็นเครื่องช่วยร่นเวลาการสอนให้สั้นลง
3. ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาในบทเรียนง่ายขึ้น กระตุ้น และเร้าความสนใจ ไม่เบื่อในการเรียน รวมทั้งให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
ข้อจำกัด
1. ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่
2. เสียสุขภาพสายตาจากการได้รับแสงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์